บ้านสันกลาง หมู่ที่ ๑๒

User Rating:  / 0
PoorBest 

สนกลาง

บ้านสันกลาง   หมู่  12  ต.ขุนควร  อ.ปง จ.พะเยา ในอดีตมีการปกครองเป็นแบบพี่แบบน้อง   ผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำในชุมชนจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนจะต้องเป็นคนที่มีบารมีสูง   มีกินมีใช้มีความรู้และมีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีศีลธรรมสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชนได้  เป็นผู้ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ เพื่อที่จะให้คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตามได้การพัฒนาสมัยก่อนทุกคนร่วมไม้ร่วมมือ ช่วยกันคิดช่วยกันทำแบ่งสันปันส่วนซึ่งกันและกัน   มีการลงแขกหว่านกล้าดำนาปลูกข้าว  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   มีความเคารพในกฎ  กติกา    ของชุมชน  มีการนำเรื่องผีปู่  ย่า  ตา  ทวด มาเป็นเครื่องร้อยรักบุคคลในชุมชนเอไว้ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี   การทำมาหากินเป็นการทำมาหากินแบบยังชีพ  ทำกินทำใช้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง    หากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนเอาไว้  เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องหากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนหรือหมู่บ้านใกล้เคียง  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  ดินดำน้ำชุ่ม  ป่าเขียว ในน้ำมีปลาในนามีข้าว  เข้าเห็ด ตกเบ็ดได้กินปลา ไปมาหาสู่อยู่กินสบาย ยามใดได้ป่วยก็มียาสมุนไพรช่วยรักษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย         ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน เมื่อถึงการณ์ปี๋ใหม่  ใกล้วันรอคอยพี่น้องน้อยใหญ่ได้รดน้ำดำหัว  พ่อ  แม่ ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ผู้เฒ่าผู้แก่  ผู้หลักผู้ใหญ่ นึกได้ใส่ใจในบุญคุณ  เกื้อหนุนค้ำชู บูชาคุณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ  ประดับประดา  เสื้อผ้าอาภรณ์  นอบน้อมพร้อมเพรียง  เรียบเรียงกล่าวขานแสนสุขสำราญหาค่ามิได้   

บ้านสันกลางแต่เดิมเป็นสังกัดบ้านน้ำปุก หมู่ที่ 1 ต.ขุนควร  อ.ปง  จ.พะเยา  เป็นหมู่บ้านเล็กๆ  มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ประมาณ 10 หลังคาเรือน  แต่ก่อนชาวบ้านเรียกกันว่า ”บ้านปางยา”  ต่อมาได้มีผู้คนย้ายเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านสันกลาง”

                            ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2541 นายพร  อินธิยา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านน้ำปุกในขณะนั้น ร่วมด้วยนายล้วน   คันทะหมื่น และนายศักดิ์   อำมาตย์ ผู้ช่วยผู่ใหญ่บ้าน ได้ขอแยกหมู่บ้านสันกลางออกจากหมู่บ้านน้ำปุก โดยขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากหมู่บ้านสันกลางมีจำนวนประชากรที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงปีพุทธศักราช 2544 หมู่บ้านสันกลางได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย    ให้เป็นบ้านสันกลาง หมู่ที่12 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 และได้มีการเลือกตั้งผู่ใหญ่บ้านในวันที่ 28 สิงหาคม  2544  จึงได้มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก  คือ  นายศักดิ์   อำมาตย์  ซึ่งขณะนั้นหมู่บ้านสันกลางมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  88  ครัวเรือน ในปัจจุบันนี้มี นายยุทธ   มานะ  ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

สถานการณ์ที่คาดว่าจะมากระทบต่อการพัฒนาของหมู่บ้าน

                ในด้านดี

               การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านส่งผลให้ชาวบ้านมีโอกาสกำหนดแนวทางการพัฒนา   ของตนเอง  เปิดโอกาสให้เข้ามาร่วมโครงการต่างๆ  ทำให้ครอบครัว  หมู่บ้าน  เข้มแข็งและเกิดสันติสุข   การเมืองท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น สนับสนุนหมู่บ้านมากขึ้น ส่งผลในการตอบสนองความต้องการของหมู่บ้านมากขึ้น

                ในด้านไม่ดี

                 ด้านวัฒนธรรมอ่อนแอ              คือ  วิถีชีวิตการเกิด การอยู่เปลี่ยนไป

                 ด้านภูมิปัญญาอ่อนแอ             คือ  การคิดค้นความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงเปลี่ยนไป

ด้านระบบเศรษฐกิจอ่อนแอ       คือ  เศรษฐกิจแบบพึ่งพาถูกยุยงส่งเสริมให้เปลี่ยนไป

ด้านระบบรัฐอ่อนแอ                คือ ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของหมู่บ้าน

               ด้านสังคมอ่อนแอ                   คือ  ขาดการเกื้อกูล  ขาดปฏิสัมพันธ์  ระบบกฎเกณฑ์และภูมิปัญญาถูกมองว่าไม่ทันสมัย

จุดเด่นของหมู่บ้าน

               ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ ทำไร่ข้าวโพด มีสถาบันการเงินของหมู่บ้านเพื่อใช้ในการลงทุนทำการเกษตรต่างๆ มีการใช้วิถีชีวิตแบบชาวพุทธ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี เช่น การสะเดาะเคราะห์  สืบชะตา  บูชาเทียน  เป็นต้น

ศักยภาพในหมู่บ้าน

                มีผู้นำทางการ

                                1.   นายสมพงศ์       ชัยชนะ                 ผู้ใหญ่บ้าน

                                2.   นายชวน           หมูก้อน                สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                มีกลุ่มแกนนำที่แต่งตั้ง (จากประชาชน)

กลุ่มข้าวโพดชุมชน

               กลุ่มออมทรัพย์

               กลุ่มแม่บ้าน

               กลุ่มผู้ใช้นำประปา

               กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์

               กลุ่มกองทุนหมู่บ้านสันกลาง

สาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน

                สะพานในหมู่บ้าน         จำนวน                   1  แห่ง

                ประปาในหมู่บ้าน          จำนวน                   3  แห่ง

                แหล่งน้ำธรรมชาติ        จำนวน                   1  สาย

                ถนนลูกรังดิน               จำนวน                   2  สาย

                โทรศัพท์สาธารณะ       จำนวน                   1  ตู้

                การไฟฟ้า                    มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

                ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                มี อ.ป.พ.ร.  จำนวน  8  นาย

                แหล่งน้ำธรรมชาติ  3  สาย คือ

                                แม่น้ำปุก

                                ห้วยของ

                                ห้วยบ้านห่าง

                แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                                สระน้ำ       25     สระ

ทุนภูมิปัญญา

ลำดับ       ชื่อภูมิปัญญา                เป้าหมาย                      ด้าน

          1.                 จ๊อย, ซอ                          ความสนุกสนาน                              วัฒนธรรม

          2.                รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ            ขอขมาผู้เฒ่า ขอพรปีใหม่                 วัฒนธรรม

         3.                 คาถาเป่าตาแดง                 รักษาโรค                                       สุขภาพ

         4.                 จักรสาน                           ใช้ – ขาย                                       เศรษฐกิจ

         5.                 บายศรีสู่ขวัญ                     อยู่ดีมีสุข                                       วัฒนธรรม

         6.                 เลี้ยงผีชาวบ้าน                   อยู่ดีมีสุข                                       วัฒนธรรม

        7.                  ข้าวจ้ำ                              แก้บน                                           วัฒนธรรม

        8.                  คาถาไล่ผี                          อยู่ดีมีสุข                                       วัฒนธรรม

       9.                   คาถาเป่างูสวัด                   รักษาโรค                                       สุขภาพ

ทุนทรัพยากรธรรมชาติ

ลำดับ             ชื่อทรัพยากร             เป้าหมาย                  ด้าน

   1.           ป่าชุมชนบานสันกลาง                      รักษาต้นน้ำ                           สัตว์ป่า

   2.          ประปาภูเขา                                    อุปโภค/บริโภค                     อุปโภค/บริโภค

            3.           แม่น้ำปุก                                        หาปลา/ใช้ในการเกษตร          การเกษตร

   4.          หน่อไม้, เห็ด, ผักหวาน                    ไว้ทำอาหาร                          บริโภค

   5.          ห้วยของ                                        ทำการเกษตร                        การเกษตร

             6.          ดอยผาเอื้อง                                   แหล่งอาหารป่า                     สัตว์ป่า

                ไฟกิ่งในหมู่บ้าน                                 จำนวน  4  แห่ง

                ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                          จำนวน   1  ตู้

                ที่อ่านหนังสือพิมพ์                             จำนวน   1  แห่ง

บริการพื้นฐาน

                การศึกษา

                                มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บาน  1  แห่ง

                การโทรคมนาคม

                                1. ห้วยผาแดง                       ทำการเกษตร                        การเกษตร

                                2. ฝายแม้ว                          กักเก็บน้ำ                              อุปโภค/บริโภค

 

ทุนในหมู่บ้านสันกลาง

ทุนคน/ทุนมนุษย์

ลำดับ                          ชื่อ - สกุล             ความสามารถ                               ด้าน

  1.           นายโยธิน              แสนวัน                 ทำไม้กวาด                            เศรษฐกิจ/อาชีพ
  2.           นายหวัง                อินลา                   หมอนวดจับเส้น                      สุขภาพ
  3.           นางสรัญญา           อำมาตย์               ทำน้ำยาล้างจาน                     เศรษฐกิจ/อาชีพ
  4.           นางจังกอน            อินธิยา                 ถักแห                                   เศรษฐกิจ/อาชีพ
  5.           นายนวล               แสนวัน                จักรสาน                                 เศรษฐกิจ/อาชีพ
  6.           นางแสงหล้า         จันทร์เดียว            ซอพื้นบ้าน                              วัฒนธรรม
  7.           นางพิศ                แสนสมบัติ            ถักสวิง                                   เศรษฐกิจ/อาชีพ
  8.           นางแข                คำปา                   สานโพงพาง                            เศรษฐกิจ/อาชีพ
  9.           นางสาวปนัดดา     มหาไชย               ปักผ้า                                     เศรษฐกิจ/อาชีพ
  10.          นายนุช               คำปา                   แกะสลัก                                  เศรษฐกิจ/อาชีพ
  11.          นายผัด               จี๋เอ้ย                   ตีมีด                                       เศรษฐกิจ/อาชีพ
  12.          นายคนอง           แก้มมาเมือง          ซ่อมรถ                                    เศรษฐกิจ/อาชีพ
  13.          นายวงศ์             จันทิมา                 หมอเป่าตา                               สุขภาพ
  14.          นายสนั่น            วงศ์ลังกา              สร้างบ้าน                                 เศรษฐกิจ/อาชีพ
  15.          นายแสง             อินทจักร              ไพคา                                      เศรษฐกิจ/อาชีพ
  16.          นายอุ่นคำ           อินทจักร              ค้าขาย                                    เศรษฐกิจ/อาชีพ

ทุนสถาบัน

ลำดับ    ชื่อสถาบัน                       เป้าหมาย                         ด้าน

1.       กลุ่มข้าวโพดชุมชน             ช่วยเหลือด้านการเงิน             เศรษฐกิจ

2.       กองทุนเงินล้าน                  ช่วยเหลือด้านการเงิน            เศรษฐกิจ

3.       กลุ่มออมทรัพย์                  ช่วยเหลือด้านการเงิน            เศรษฐกิจ

4.       กลุ่มแม่บ้าน                     ช่วยเหลืองานสังคม              สังคม

5.       กลุ่ม อสม.                      ช่วยเหลืองานสาธารณสุข        สาธารณสุข

6.       กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์         ช่วยเหลือการเงินในงานศพ      เศรษฐกิจ

7.       กองทุนหมู่บ้านสันกลาง          ช่วยเหลือด้านการเงิน            เศรษฐกิจ

8.       กองทุน SML                    ช่วยพัฒนาหมู่บ้าน              เศรษฐกิจ

9.       กลุ่มผู้ใช้น้ำประปา               ใช้อุปโภค/บริโภค               อุปโภค/บริโภค

footer5