User Rating:  / 3
PoorBest 

สนตสข

                          บ้านสันติสุขหมู่ 7  ต. ขุนควร  อ.ปง  จ.พะเยา ในอดีตมีการปกครองแบบสังคมนิยมผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้นำในชุมชนจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนจะต้องเป็นคนที่มีความกล้าในด้านความสามารถมีความรู้และมีคุณธรรม จริยธรรม และ ศิลธรรมสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชนได้เป็นผู้ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้เพื่อที่จะให้คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตามได้การพัฒนาสมัยก่อนทุกคนร่วมไม้ร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีการเคารพในกฎกติกาของชุมชนมีการนำเรื่อง ผีปู่ ย่า ตา ทวด  มาเป็นเครื่อง ร้อยรัดบุคคลในชุมชนเอาไว้เพื่อให้เกิดความสามัคคีมีการทำมาหากินแบบยังชีพทำกินทำใช้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องหากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ดินดำ น้ำชุ่ม ป่าเขียว เข้าป่าได้กินเห็ด ตกเบ็ดได้กินปลา ไปมาหาสู่กินสบายยามใดที่ล้มป่วยก็มี  ยาสมุนไพรช่วยรักษาภูมปัญญาท้องถิ่นมีมากมายซึ่งได้ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน เมื่อถึงการณ์ปีใหม่หนุ่มสาวโยนลูกช่วงเพื่อหาเนื้อคู่  พ่อแม่ปู่ย่าตายายบรรพบุรุษผู้ล่วงลับโดยการจัดพิธีภายในบ้านของตนเองและกล่าวคำอวยพรปีใหม่งานที่ใหญ่  ที่สุดของประเพณีม้งตลอดปีก็มีเพียงงานเดียวและงานนี้ก็จะยังคงสืบทอดกันมาจนปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของบ้านสันติสุข

ในปีพ.ศ.2500 ได้อพยพมาจากบ้านสบบง ตำบลสบบง อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย โดยมี นายเงี่ยโก๊ แซ่ม้า เป็นผู้ใหญ่บ้าน ประมาณปีพ.ศ.2510ได้มีขบวนการทางการเมือง พคท. เข้ามาเคลื่อนไหว     ปลุกระดมลัทธิคอมมิวนิสต์ในพื้นที่บริเวณบ้านผาจิเมื่อทางการเมืองที่ จ.น่าน ทราบข่าวว่ามีขบวนทางการเมืองเข้ามาเคลื่อนไหวปลุกระดมประชาชน ดังนั้นทางการเมืองจึงส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามทันทีทำให้ชาวบ้านผาจิเดือดร้อนเนื่องจากภัยสงคราม เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2511ชาวบ้านผาจิทั้งหมดจึงได้พร้อมใจกันเข้าร่วมกับ พคท. จับอาวุธขึ้นมาต่อสู้รัฐบาล ในช่วง14 ปี ทีชาวบ้านผาจิอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์ หรือ พคท. เพื่อความสะดวกในการควบคุมและดูแลเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของ  พคท. ได้จัดแบ่งชาวบ้านผาจิออกเป็น 3 หมู่บ้านดังนี้

                      1.บ้านธงแดง

                      2.บ้านเอกราช

                      3.บ้านต่อสู้

ในแต่ละหมู่บ้านจะมีคณะกรรมการดังนี้

                      1.กรรมการฝ่ายปกครอง

                      2.กรรมการฝ่ายป้องกัน(หัวหน้าทหารบ้าน)

                      3.กรรมการฝ่ายเศรษฐกิจ(สหกรณ์)

                      4.ฝ่ายอนามัย

                      5.กรรมการฝ่ายสตรี

และในแต่ละหมู่บ้านมีการตั้งทำงานรวมหมู่ในระบบสหกรณ์ โดยได้รับส่วนแบ่งตามแรงงาน ที่ได้ทำเท่าเทียมกันอย่างเสรีภาคต่อมาประชาชนบ้านผาจิได้ร่วมกับประชาชนผาช้างหรือบ้านฉลองกรุง          อีก  3  หมู่บ้านคือ     1.บ้านร่วมใจ

                    2.บ้านยืนหยัด

                    3.บ้านลูกไพ่

ประชาชนทั้ง  6   หมู่บ้านได้จัดตั้งเป็นสภาตำบลขึ้นในปี  พ.ศ.2525 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายที่  66/23  แผนยุทธการ   สุรยาท   ประธานผาจิทั้งหมดได้พร้อมใจกันเข้ามอบตัวกับรัฐบาลเพื่อพัฒนา  จ.น่านและศูนย์กรุณาเทพ  จ.น่านเป็นระยะเวลา  8  เดือนและในปีเดียวกันได้กลับมายังพื้นที่เดิมตามโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของกองทัพภาคที่ 3

             ในปีพ.ศ.2526ทางกองทัพภาคที่ 3 ก็ได้เริ่มดำเนินการตามโครงดารพัฒนาพื้นที่ดอยผาจิโดยเริ่มสร้างถนนจากบ้านผาจิ เข้าบริเวณลำน้ำสาวและออกไปยังบ้านสบขุ่นและอีกสายหนึ่งจากบ้านปี้เหนือมาบรรจบที่ลำน้ำสาว และพัฒนาพื้นที่ลำน้ำสาวให้ชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัย

           ในปีพ.ศ.2527ชาวบ้านก็เข้ามาตั้งหมู่บ้านในพื้นที่จัดสรรในบริเวณลำน้ำสาวตามโครงการ

            ในปีพ.ศ.2528โดยประกาศทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดเป็นหมู่บ้านโดยถูกต้องตามกฎหมายโดยชื่อว่า หมู่บ้านสันติสุข จนถึงปัจจุบัน

 ผู้ใหญ่บ้านสันติสุข

    1.นายสันติ   วรกิจพาณิชย์

    2.นายอิสระ   วรกิจพาณิชย์

    3.นายชาญชัย  อัศวะจินดาพล

            4. นายอิทธิพล วรกิจพาณิชย์

 ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

    นายอิทธิพล วรกิจพาณิชย์

จำนวนประชากรหมู่บ้านสันติสุข

   ชาย 801 คน

   หญิง 772 คน

รวมประชากรหมู่บ้านสันติสุข 1,573 คน

ด้านศาสนาและการศึกษา

               บ้านสันติสุขเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล แต่การเรียนรู้ก็ถูกฝึกสอนมาจากบิดา มารดา ที่เคย        ร่ำเรียนมาและจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรู้มาจากกลุ่มผู้ปฏิวัติ

               สถาบันองค์กรทางศาสนา                        จำนวน 1 โบสถ์

               สาธารณสุขมีศูนย์ อสม.                           จำนวน 1 แห่ง

การบริการพื้นฐาน

     การโทรคมนาคม

                โทรศัพท์ในบ้าน                                     จำนวน 1 หลังคา

     การไฟฟ้า

                 มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

     มีแหล่งน้ำธรรมชาติ

                 แม่น้ำสาว

     มีฝ่ายกั้นน้ำตามลำแม่น้ำ                                     จำนวน 1 แห่ง

มีกลุ่ม/แกนนำที่แต่งตั้ง (จากประชาชน)

            กลุ่มแม่บ้าน                       สมาชิก 50 คน

            กลุ่มผู้สูงอายุ                      สมาชิก 20 คน

            กลุ่มเพาะเห็ด                     สมาชิก 15 คน

สาธารณประโยชน์ในชุมชน

            ฝ่ายน้ำล้นในพื้นที่การเกษตร              มีจำนวน 5 แห่ง

            ประปาในชุมชน                                  มีจำนวน 1 แห่ง

            แหล่งน้ำธรรมชาติ                               มีจำนวน 1 แห่ง

            ท่อเหลี่ยม                                             มีจำนวน 5 แห่ง

             ถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน                     มีจำนวน 1 สาย

            ถนนลุกรังดิน                                        มีจำนวน 5 สาย

สถานการณ์ที่คาดว่าจะมากระทบต่อการพัฒนาของชุมชน

ในด้านดี

       การก่อตั้งกลุ่มแกนนำในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านรู้จักการพัฒนาตนเอง พัฒนาฝีมือ และ พัฒนาสังคมของตนเอง (สังคมครอบครัว) ให้มีความเข้มแข็ง  เกิดความสามัคคีและสันติสุข  แม้จะเป็นหมู่บ้านที่ห่างไกลแต่ทุกคนก็อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจแบบพอเพียง  รู้จักจัดระเบียบการหมุนเวียนรายได้ให้อยู่ภายในหมู่บ้านของตน  โดยการค้าขายภายในหมู่บ้าน

ในด้านไม่ดี

ซึ่งมีด้วยกันหลายด้านสามารถแยกได้ดังนี้

      ด้านวัฒนธรรม  คือ  การรับวัฒนธรรมจากที่อื่นมาผสมกับวัฒนธรรมเก่าในวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น วัฒนธรรมในด้านการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่

      ด้านปัญญา คือ  ไม่ให้ความสำคัญในด้านการศึกษาแต่จะเน้นประสบการมากกว่า ฉะนั้นเมื่อลูกจบม. 3 ก็จะไม่ส่งเรียนต่อแต่จะส่งไปทำงาน

      ด้านระบบเศรษฐกิจ  คือ  การค้าขายค่อนข้างลำบาก  เนื่องจากถนนหนทางทุระกันดาร  การค้าขายไม่ค่อยนิยม

      ด้านรัฐ  คือ  ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง

      ด้านสังคม  คือ  วัยรุ่นขาดระบบกฎเกณฑ์ในหมู่บ้าน ไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านหมู่บ้านใดๆ

จุดเด่นของหมู่บ้าน

หมู่บ้านมีศักยภาพในการพัฒนาหลายๆ ด้าน คือ

ด้านภูมิประเทศ

                              บ้านสันติสุขเป็นหมู่บ้านที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขา  ล้อมรอบหมู่บ้านทางตะวันออกมีลักษณะภูเขาเป็นรูปผาช้างและผาวัวซึ่งในฤดูหนาวจะมีความสวยงามมาก  เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอย่างมากและยังมีพื้นที่ติดต่อกับ จ.น่าน  ซึ่งมีทางลูกรังสามารถข้ามไป จ.น่านได้มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน คือ  แม่น้ำสาวซึ่งกั้นเขตแดนระหว่าง จ.พะเยา  และ  จ.น่านนั่นเอง

ด้านพื้นที่

                             เป็นพื้นที่ภูเขาล้อมรอบลักษณะพื้นที่เป็นแอ่ง  มีแม่น้ำไหลผ่านซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตร  โดยเฉพาะการการทำนาและการปลูกพืชสวนผลไม้ คนในหมู่บ้านจึงนิยมการทำนาและการปลูกพืชสวนผลไม้แทบทุกหลังคาเรือน  มีดินที่อุดมณ์สมบูรณ์ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตร

ด้านศักยภาพ

                               บ้านสันติสุขแม้จะเป็นหมู่บ้านที่ห่างไกลแต่หมู่บ้านก็มีผู้นำที่มีวิสัยทัศย์ที่กว้างไกลสามารถพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดีรู้จักตามลอยในหลวงใช้เศรษฐกิจแบบพอเพียง  สร้างกลุ่มพลังมวลชน       ในหมู่บ้าน  เพื่อพัฒนาเมื่อบ้านต่อไป

ด้านวัฒนธรรม

                            ประชากรบ้านสันติสุขยังคงยืดถือวัฒนธรรมดั่งเดิม ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมต่างๆ ก็ยังคงยืดถือปฏิบัติกันมาโดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านภาษาซึ่งเป็นการสื่อสารให้เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย  คนในหมู่บ้านก็ยังคงรักษาและใช้สื่อสารกันมา  วัฒนธรรมที่คนในชุมชนยังสืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นั้นก็คือ วัฒนธรรมการเล่นปีใหม่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่พบเห็นได้ชัดที่สุดเป็นวัฒนธรรมที่มีความสวยงาม  น่าพึงเก็บรักษา  และ       สืบทอดต่อๆไป

ทุนในหมู่บ้านสันติสุข

กลุ่มที่  1 ทุนคน/ทุนมนุษย์

ชื่อ – สกุล                                              ความสามารถ                      ด้าน

1.นายทองพัน      วรกิจพาณิชย์                        พิธีงานแต่งงาน                   วัฒนธรรม

2.นายท่อป้อ        แซ่ว่าง                                   เป่าในไม้                             วัฒนธรรม

3.นายตง               แซ่ว่าง                                 สวดส่งวิญญาณ                   วัฒนธรรม

4.นายน่อจื่อ         อัศวจินดาพล                       ให้พร                                   วัฒนธรรม

5.นายน่อฟื่อ(สิริ)   วรกิจพาณิชย์                      ผู้จัดการงานศพ                   วัฒนธรรม

6.นายสือ              แซ่ม้า                                   สวดงานศพ                          วัฒนธรรม

กลุ่มที่  2 ทุนสถาบัน

ชื่อสถาบัน                                      เป้าหมาย                          ด้าน

1.กองทุนแซ่ว่างสามัคคี                พัฒนาหมู่บ้าน                  เศรษฐกิจ

2.กองทุนแซ่ม้า                             พัฒนาหมู่บ้าน                  เศรษฐกิจ

3.กลุ่มผู้สูงอายุ                             ให้ความเพลิดเพลิน           สังคม

กลุ่มที่  3 ทุนภูมิปัญญา

ชื่อภูมิปัญญา                                     เป้าหมาย                                   ด้าน

1.สวดส่งวิญญาณ                              เล่นในพิธีงานศพ                     วัฒนธรรม

สภาพปัญหาในชุมชนบ้านสันติสุข

1.ปัญหาการไม่ให้เกียรติในกลุ่มวัยรุ่น

แก้ไข  อยากให้กลุ่มวัยรุ่นกลับมาแลเห็นวัฒนธรรมเก่าๆ ในเรื่องการให้เกียรติผู้อาวุโส ซึ่งเป็นที่ยืดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน

2.ทะเลาะวิวาท

แก้ไข  อยากให้พูดกันด้วยเหตุผลไม่ควรใช้กำลัง

3.ถนนขรุขระ

แก้ไข  อยากให้มีโครงการเข้ามาช่วยในการสร้างถนน

4. น้ำประปา

แกไข  อยากให้มีการเพิ่มท่อประปาภายในหมู่บ้าน

5. พลังไฟฟ้า

แก้ไข  อยากให้มีโครงการใช้แผงโซลาเซลล์ มาช่วยเพิ่มในด้านการให้พลังงานไฟฟ้า

6. ที่ดินถูกลด

แก้ไข  อยากให้มีการทำโฉนดที่ดินให้กับประชาชนในหมู่บ้าน