Get Adobe Flash player

LPA Recovered

ITA

User Rating:  / 2
PoorBest 

สารภ

                บ้านใหม่สารภี หมู่ 11 ต. ขุนควร อ. ปง จ. พะเยา ในอดีตมีการปกครองเป็นแบบพี่แบบน้องผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำชุมชนจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน จะต้องเป็นคนที่มีบารมีสูง มีกินมีใช้   มีความรู้  มีคุณธรรมจริยธรรม และศีลธรรม สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชนได้ เป็นผู้ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อที่จะให้คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตามได้ การพัฒนาสมัยก่อนทุกคนร่วมไม้ร่วมมือช่วยกันคิดช่วยกันทำ แบ่งสันปันส่วนซึ่งกันและกัน มีการลงแขกหว่านกล้า ดำนา ปลูกข้าว ช่วยเหลือ    ซึ่งกันและกัน มีความเคารพในกฎกติกาของชุมชน มีการนำเรื่องผีปู่ผีย่า ตาทวด มาเป็นเครื่องร้อยรัดบุคคลในชุมชนเอาไว้เพื่อให้เกิดความรัก   ความสามัคคี การทำมาหากินเป็นการทำมาหากินแบบยังชีพ ทำกินทำใช้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง หากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ดินดำ น้ำชุ่ม ป่าเขียว ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ข้าวป่าได้กินเห็น ตกเบ็ดได้กินปลา ไปมาหาสู่อยู่กินสบาย ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็มียาสมุนไพรช่วยรักษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย    ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน เมื่อถึงกาลปีใหม่ ใกล้วันรอคอยพี่น้องน้อยใหญ่ได้รดน้ำดำหัวพ่อ – แม่ , ปู่ – ย่า ,        ตา – ยาย ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ นึกได้ใส่ใจในบุญคุณเกื้อหนุนค้ำชู บูชาคุณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ประดับประดาเสื้อผ้าอาภรณ์ นอบน้อมพร้อมเพรียง เรียบเรียงกล่าวขาน แสนสุขสำราญหาค่ามิได้

                เดิมบ้านใหม่สารภีเป็นหมู่บ้านเดียวกับบ้านผาตั้ง หมู่ 6 ต. ขุนควร อ. ปง จ.พะเยา แต่เนื่องจาก      หมู่บ้านผาตั้งมีประชากรจำนวนมาก บ้านแต่ละหลังอยู่ห่างไกลกัน เมื่อมีงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรมาให้   ก็ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร จึงมีการขอแยกหมู่บ้าน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 และได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านใหม่สารภี หมู่ 11 ในปี พ.ศ. 2544 (นายเพ็ชร   จันทิมา เป็นผู้ตั้งชื่อหมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านมีที่มาเนื่องจากบริเวณหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่ มีต้นสารภีที่มีอายุเก่าแก่ แต่ตอนนี้ตายแล้ว ) มีนายมนัส   บุญศรี ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2544 ในส่วนของการจัดตั้ง     สาธารณประโยชน์หมู่บ้านใหม่สารภีก็ได้บูรณะซ่อมแซมวัด พัฒนาโรงเรียน ร่วมกับบ้านผาตั้งและได้สร้างป่าสุสานขึ้นมาใหม่โดยมีอาณาเขตของหมู่บ้านติดกับเขตต่าง ๆ ดังนี้

                ทิศเหนือ                ติดกับบ้านแสงไทร             หมู่ที่ 9

                ทิศใต้                      ติดกับบ้านผาตั้ง               หมู่ที่ 6

                ทิศตะวันออก       ติดกับแม่น้ำขาม

                ทิศตะวันตก          ติดกับป่าชุมชน

สภาพทั่วไปปัจจุบัน  

1.ตั้งอยู่

บ้านใหม่สารภีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอปง ระยะทางจากหมู่บ้านถึงตัวอำเภอปง 21 กิโลเมตร        มีอาณาเขตดังนี้

                ทิศเหนือ                        ติดกับบ้านแสงไทร             หมู่ที่ 9

                ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ      ติดกับป่าชุมชน

                ทิศตะวันตกเฉียงใต้         ติดทุ่งนา

                ทิศใต้                           ติดกับบ้านผาตั้ง   หมู่ที่ 6

                ทิศตะวันตก                   ติดกับป่าชุมชน

                ทิศตะวันออก                 ติดกับแม่น้ำขาม

                ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ติดกับแม่น้ำตอง

ทิศตะวันออกเฉียงใต้      ติดกับแม่น้ำขาม

2.จำนวนพื้นที่

จำนวนพื้นที่ทั้งหมด ที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัยประมาณ 1,500 ไร่

เนื้อที่ทำการเกษตร 500 ไร่

เนื้อที่สำหรับที่อยู่อาศัย      1,000 ไร่

3.ภูมิประเทศ

ลักษณะพื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ราบทุ่งนา มีภูเขา มีเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยทางบก

 สภาพดินทั่วไปเป็นดินเหนียว

4.จำนวนประชากร

จำนวนประชากรในหมู่บ้านมี 481 คน เป็นชาย 250 คน หญิง 231 คน จำนวนครัวเรือน

115 ครัวเรือน

5.ธุรกิจหมู่บ้าน

ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่มี  โรงสีข้าวขนาดเล็กจำนวน  1 ครัวเรือน

ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ รถไถนาเดินตาม จำนวน 1 เครื่อง

6.ด้านศาสนาและการศึกษา

วัดเป็นจุดศูนย์รวมทางจิตใจ เป็นที่อบรมสั่งสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ อดีตผู้ที่อยากจะมีการศึกษา     โดยเฉพาะผู้ชายจะต้องบวชเรียน จึงจะได้เรียนหนังสือทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้นำในสมัยต้นๆ ส่วนมากจะเป็นผู้ที่บวชเรียนมาแล้ว

สถาบัน องค์กรทางศาสนาพุทธ จำนวน 1 แห่ง

สถาบันศาสนาคริสต์ จำนวน 1 แห่ง

สาธารณสุข มีศูนย์ อสม. จำนวน 1 แห่ง

มีส้วมราดน้ำ  จำนวน  115  แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  มี อ.พ.ป.ร. จำนวน 10 นาย มีสมาชิก อ.ส.ม. 14 คน อ.ก.ต.ร จำนวน 15 คน

7.การบริการพื้นฐาน

การคมนาคม

มีเส้นทางการคมนาคม ติดต่อกับ อ. ปง จำนวน 1 เส้นทาง มีซอยในหมู่บ้านทั้งหมด 7 ซอย

การโทรคมนาคม   สถานีโทรคมนาคม 1 แห่ง  , โทรศัพท์ภายในบ้าน จำนวน 1 หลัง

   โทรศัพท์มือถือประมาณ 250 เครื่อง 

การไฟฟ้า  มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 3 สาย คือ แม่น้ำขาม , แม่น้ำกำลัง และแม่น้ำห้วยยา

มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

บ่อน้ำตื้น        4  แห่ง

บ่อน้ำบาดาล   1 แห่ง

สระน้ำ           8 แห่ง

ฝายกั้นน้ำ      1 แหล่ง

  1. 8.ศักยภาพในหมู่บ้าน

ผู้นำทางการ   ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน   (นายสุมิตร พรมมา)

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน            2 คน  

ส.อ.บ.ต.                       2 คน (นายสมศักดิ์ วงค์แก้ว และ นายวิทยา ขุนติ๊บ)

  1. 9.มีกลุ่ม / แกนนำที่แต่งตั้ง (จากภาครัฐ)

กลุ่ม อ.ก.ต.ร.   สมาชิก 15 คน

กลุ่ม  อ.ส.ม.     สมาชิก 14 คน

กลุ่ม อ.พ.ป.ร.  สมาชิก 10 คน

  1. 10.มีกลุ่ม / แกนนำที่แต่งตั้ง (จากประชาชน)

กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้าน             สมาชิก 20 คน

กลุ่มฌาปณกิจศพ                   115  ครัวเรือน

กลุ่มแม่บ้าน                           สมาชิก 115 คน

กลุ่มผู้สูงอายุ                         สมาชิก 77 คน

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ                      สมาชิก 20 คน

รายได้เฉลี่ยครอบครัวในชุมชน   เฉลี่ยต่อปี ประมาณ  25,000 บาท / ปี / ครัวเรือน

  1. 11.สาธารณประโยชน์ในชุมชน

สะพานในหมู่บ้านมีจำวน 2 แห่ง 

ฝายน้ำล้นในพื้นที่การเกษตร   มีจำนวน 2 แห่ง

ประปาในหมู่บ้าน 1 แห่ง

บ่อน้ำตื้นในหมู่บ้าน 4 แห่ง

แหล่งน้ำธรรมชาติ 2 แห่ง

ลำเหมือง 2 แห่ง

ถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน 2 สาย

ถนนดินลูกรัง 5 สาย

ไฟกริ่งในหมู่บ้าน 4 แห่ง

ตู้โทรศัพท์องค์การ 1 ตู้

  1. 12.สถานการณ์ที่คาดว่าจะมากระทบต่อการพัฒนาของชุมชน

ในด้านดี

  การมีส่วนร่วมของชุมชนส่งผลให้ชาวบ้านมีโอกาสกำหนดแนวทางการพัฒนา

ของตนเอง เปิดโอกาสให้เข้ามาร่วมโครงการต่าง ๆ ทำให้ครอบครัว ชุมชนเข้มแข็งและ

เกิดสันติสุข การเมืองท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น มีการสนับสนุนชุมชนมากขึ้น ส่งผลในการตอบสนองความต้องการของชุมชนมากขึ้น

        ในด้านไม่ดี

-  ด้านวัฒนธรรมอ่อนแอ คือ วิถีชีวิตการกินการอยู่เปลี่ยนไป

-  ด้านปัญญาอ่อนแอ คือ การคิดค้นความสัมพันธ์ หรือความเชื่อมโยงเปลี่ยนไป

-  ด้านระบบเศรษฐกิจอ่อนแอ คือ เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพิง และพึ่งพา อาจถูก ยุยงส่งเสริม

-  ด้านระบบรัฐอ่อนแอ คือ ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน

-ด้านสังคมอ่อนแอ คือ ขาดการเกื้อกูล ขาดการปฏิสัมพันธ์ ระบบกฎเกณฑ์และภูมิปัญญา ดูถูกว่าไม่ทันสมัย

  1. 13.จุดเด่นของหมู่บ้าน

หมู่บ้านมีศักยภาพในการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน คือ

ด้านภูมิประเทศ

       บ้านใหม่สารภีตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่สะดวก เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับเพื่อนบ้านได้ดี มีทางหลวงซึ่งสามารถเดินทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยว คือ ถ้ำผาตั้งได้

ด้านพื้นที่

       เป็นที่ราบเหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา ปลูกพืชผักผลไม้

ด้านศักยภาพ

      มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ มีอาชีพหลักคือการทำนา มีสถาบันการเงินของชุมชน

ด้านวัฒนธรรม

          มีการใช้วิถีชีวิตแบบชาวพุทธ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีปราชญ์ชาวบ้าน มีการสืบสาน

วัฒนธรรม ประเพณีทั้งการสู่ขวัญ สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา บูชาเทียนอยู่เป็นประจำ

  1. 14.ทุนทางสังคมของหมู่บ้านโดยแบ่งแยกเป็น 4 ทุน ดังต่อไปนี้

กลุ่ม 1 ทุนคน / ทุนมนุษย์

ลำดับ ชื่อ - สกุล ความสามารถ ด้าน
1 นายศรีลัย   ปิมแปง หมอสู่ขวัญ วัฒนธรรม
2 นายหลง   สุพรม หมอเป่ากระดูก , แผล สุขภาพ
3 นายคำ   จอมทอง หมอเลี้ยงผี วัฒนธรรม
4 นางมี   มอญคำ จักรสาน เศรษฐกิจ/อาชีพ
5 นายแต่ง    สมโรย ตัดผม เศรษฐกิจ/อาชีพ
6 นางบาง   นะรัยรัมย์ ตัดเย็บผ้า เศรษฐกิจ/อาชีพ
7 นายสมศักดิ์  วงศ์แก้ว ซ่อมรถ เศรษฐกิจ/อาชีพ
8 นายเพ็ชร   จันทิมา เล่นดนตรีพื้นเมือง วัฒนธรรม
9 นายศรีวรรณ   ยืนยัง สร้างบ้าน เศรษฐกิจ/อาชีพ
10 นางต่อมแก้ว   แก้ววิทูรย์ ทำเหล้าเสรี เศรษฐกิจ/อาชีพ
11 นางจิตร   แต้มดื่ม ฟ้อนรำพื้นเมือง วัฒนธรรม
12 นายกองจันทร์   เทพทอง หมอปศุสัตว์ สาธารณสุข
13 นางจันทร์หอม   คนการ หมอนวดแผนโบราณ สาธารณสุข
14 นางวรรณดี   บุญศรี จ้อยซอ วัฒนธรรม
15 นางสุรีย์   ปิมแปง ทำอาหาร เศรษฐกิจ/อาชีพ
16 นายจันทร์   สุดใจ เล่นดนตรีพื้นเมือง วัฒนธรรม
17 นางถนัด   แต่งตั้ง ทำน้ำยาอเนกประสงค์ เศรษฐกิจ/อาชีพ
18 นายปั๋น   ธะนะแปง สับปะเหร่อ วัฒนธรรม
19 นางแสงทอง   ธงฉัตร ทำบายศรีสู่ขวัญ วัฒนธรรม
20 นายชัยพยงค์   แต่งตั้ง ช่างไฟ เศรษฐกิจ/อาชีพ
21 นายโสรัช   ทองหล่อ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เศรษฐกิจ/อาชีพ
22 นายวัง   สมจิตร หมอยาสมุนไพร เศรษฐกิจ/อาชีพ
23 นายนวล   ใจนำ จักรสาน เศรษฐกิจ/อาชีพ
24 นายคำน้อง   ใสสม จักรสาน เศรษฐกิจ/อาชีพ
25 นางต่วน   คนอยู่ หมอเป่าตาแดง สุขภาพ
26 นางสีดา   สังขำ ช่างตัดผม/เสริมสวย เศรษฐกิจ/อาชีพ
27 นายเพ็ชร   จันทิมา สู่ขวัญควาย วัฒนธรรม

กลุ่มที่ 2 ทุนสถาบัน

ลำดับ ชื่อสถาบัน เป้าหมาย ด้าน
1 กลุ่ม อ.ส.ม. ช่วยเหลือ สาธารณสุข
2 กล่มแม่บ้าน ช่วยเหลืองานสังคม สังคม
3 กองทุนเงินล้าน ช่วยเหลือด้านการเงิน เศรษฐกิจ
4 กลุ่มผู้สูงอายุ ถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม
5 กลุ่มดนตรีพื้นเมือง อนุรักษ์วัฒนธรรม วัฒนธรรม
6 กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ ช่วยเหลือสมาชิกในหมู่บ้าน สังคม
7 กลุ่มเยาวชน ส่งเสริมการกีฬา สังคม
8 โรงเรียนบ้านผาตั้ง ส่งเสริมการศึกษา การศึกษา
9 โบสถ์ / วัด ศูนย์รวมจิตใจ ศาสนา
10 กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์ ใช้อุปโภคบริโภค เศรษฐกิจ
11 กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ ช่วยเหลือทางด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจ
12 กลุ่มทำพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ

ช่วยเหลือสมาชิกในหมู่บ้าน

ด้านอุปโภคบริโภค

เศรษฐกิจ

กลุ่มที่ 3 ทุนภูมิปัญญา

ลำดับ ชื่อภูมิปัญญา เป้าหมาย ด้าน
1 บายศรีสู่ขวัญ อยู่ดีมีสุข วัฒนธรรม
2 คาถางูสวัด คาถาเป่าตาแดง หายจากโรคภัย สุขภาพ
3 เลี้ยงผีปู่ผีย่าผีชาวบ้าน อยู่ดีมีสุข วัฒนธรรม
4 ดนตรีพื้นเมือง จ้อยซอ ความสนุกสนานรื่นเริง วัฒนธรรม
5 จักรสาน ทำใช้ทำขาย เศรษฐกิจอาชีพ
6 ช่างไม้ รับจ้าง เศรษฐกิจอาชีพ
7 สู่ขวัญควาย

แสดงความขอบคุณและขอโทษ

ที่ได้ใช้งานหนัก

วัฒนธรรม

กลุ่มที่ 4  ทุนทรัพยากรธรรมชาติ

ลำดับ ชื่อทรัพยากร เป้าหมาย ด้าน
1 ป่าชุมชน เป็นแหล่งอาหาร สัตว์ป่า
2 อ่างสารภี ใช้ในการเกษตรหาปลา การเกษตร
3 ห้วยยา ใช้ในการเกษตรแหล่งอาหาร การเกษตร
4 ประปาผิวดิน ใช้ในการอุปโภคบริโภค อุปโภคบริโภค
5 สวนป่า เป็นยาสมุนไพร สัตว์ป่า
6 ฝายแม้ว กักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การเกษตร
7

สระเลี้ยงปลาในโรงเรียน

บ้านผาตั้ง

เป็นแหล่งอาหารกลางวัน อุปโภคบริโภค

 

infologo5

งานสาธารณสุข

บริการประชาชน

88196


สไลด11


 แจ้งซ่อมไฟฟ้าสาธารณะQR Cord แจงซอมไฟฟา


สไลด33

สินค้า OTOP

logo otop

footer3