User Rating:  / 0
PoorBest 

นำปก

บ้านน้ำปุก

       บ้านน้ำปุก  หมู่1  ต. ขุนควร  อ. ปง  จ.พะเยา  ในอดีตมีการปกครองเป็นแบบพี่แบบน้อง  ผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำในชุมชนจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนจะต้องเป็นคนที่มีบารมีสูง   มีกินมีใช้มีความรู้และมีคุณธรรม  จริยธรรม  และ  ศีลธรรม  สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคมในชุมชนได้ เป็นผู้ปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ เพื่อที่จะให้คนในชุมชนประพฤติปฎิบัติตามได้  การพัฒนาสมัยก่อน  ทุกคนร่วมไม้ร่วมมือช่วยกันคิดช่วยกันทำแบ่งสันปันส่วนซึ่งกันและกัน มีการดำแขกหว่านกล้าดำนา     ปลูกข้าว ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเคารพในกฎ กติกา ของชุมชน มีการนำเรื่องผีปู่ ย่า ตา ยาย มาเป็นเครื่องร้อยรัดบุคคลในชุมชนไว้ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี การทำมาหากินเป็นการทำมาหากินแบบ  ยังชีพ ทำกินทำใช้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องหากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชน  หรือหมู่บ้านใกล้เคียงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ดินดำน้ำชุ่ม ป่าเขียว ในน้ำมีปลาในนามีข้าว     เข้าป่าได้กินเห็ด ตกเบ็ดได้กินปลา ไปมาหาสู่อยู่กินสบาย ยามใดได้ป่วยก็มียาสมุนไพรช่วยรักษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน เมื่อถึงการณ์ปีใหม่ ใกล้วันรอคอยพี่น้องน้อยใหญ่ได้รดน้ำดำหัว พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ นึกได้ใส่ใจในบุญคุณ เกื้อหนุนค้ำชู บูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ประดับประดา  เสื้อผ้าอาภรณ์   นอบน้อมพร้อมเพรียงเรียบเรียงกล่าวขานแสนสุขสำราญหาค่ามิได้

             เดิมประชากรบ้านน้ำปุก อพยพมาจากนครเวียงจันทร์  ประเทศลาว  จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ตระกูลด้วยกันที่มาจาก   (1) จำปาสัก    (2)  น้ำปั้ว    (3)  น้ำบ้วย  ทั้ง3ตระกูลมาพบกันที่จังหวัดน่าน  ต่อจากนั้นมาประมาณ 2 ปีกว่าก็ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐาน ที่อำเภอปง  จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2423  ขณะนั้นมี  7  หลังคาเรือนจะมีตระกูลไชยมงคล  ตระกูลลาบุตรดี   ตระกูลอินธิยา  ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2467 จึงจัดตั้งวัดขึ้นมาชื่อวัดน้ำปุก  ตำบลควร    อำเภอปง   จังหวัดน่าน   ต่อจากนั้นมาจากจังหวัดน่านก็เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย   จากเชียงรายก็เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดพะเยาจนปัจจุบัน

             รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  บ้านน้ำปุก

1. นายใจ            ไชยมงคล

2. นายวงค์          อินธิยา

3. นายตั๋น           ไชยมงคล

4. นายหวัน          ไชยมงคล

5. นายถา           เตชะ

6. นายอินทร์        อินธิยา

7. นายตา           อินธิยา

8. นายบุญทา        เตชะ

9. นายอิ่นคำ         ใสสิน

              10. นายพร          อินธิยา

              11. นายเสริม        อินธิยา

              12. นายสมบรูณ์    ไชยมงคล

              13. นายศักดิ์         ไชยมงคล

              14. นายไพโรจน์     ลาบุตรดี

            15. นายสมพล      สุทธวงค์

             

สถานการณ์ที่คาดว่าจะมากระทบต่อการพัฒนาของชุมชน

ในด้านดี

   การที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน    ส่งผลให้คนในชุมชนมีโอกาสกำหนดแนวทางการพัฒนาของตนเอง   เปิดโอกาสให้เข้ามาร่วมโครงการต่างๆ  ทำให้ครอบครัว  ชุมชนเข้มแข็งและเกิดสันติสุข

การเมืองในท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น  สนับสนุนชุมชนมากขึ้นส่งผลในการตอบสนองความต้องการของชุมชนได้มากขึ้น

ในด้านไม่ดี

     ด้านวัฒนธรรมอ่อนแอ        คือ  วิถีชีวิตการกินการอยู่เปลี่ยนไป

ด้านปัญญาอ่อนแอ           คือ  การคิดค้นความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงเปลี่ยนไป

ด้านระบบเศรษฐกิจอ่อนแอ  คือ  เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาและพึ่งพาถูกยุยงส่งเสริม                             

     ด้านระบบรัฐอ่อนแอ         คือ  ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน

     ด้ัานสังคมอ่อนแอ            คือ  ขาดการเกื้อกูล  ขาดการปฎิสัมพันธ์ระบกฎเกณฑ์       

             

จุดเด่นของหมู่บ้าน

           เป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำอาชีพเกษตกรรมโดยเฉพาะการ  ทำนา  ทำไร่  สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์การค้าได้มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  มีกลุ่มพลังมวลชนต่างๆมีอาชีพหลักคือการ  ทำไร่ข้าวโพด มีสถาบันการเงินในชุมชน  มีการใช้วิถีชีวิตแบบชาวพุทธ  เกื้อกูลซึ่งกันและกัน   มีปราชญ์ชาวบ้านมีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทั้งการสะเดาะเคราะห์   สืบชะตา  บูชาเทียน  เป็นต้น  บ้านน้ำปุก มีจำนวนครัวเรือน 231 ครัวเรือน  ประชากรรวม 632 คน เป็นชาย 331  คน  เป็็นหญิง  301  คน

การบริการพื้นฐาน

              การคมนาคม

มีเส้นทางคมนาคมทางหลวงแผ่นดิน   1  สาย     ซอยในหมู่บ้าน   12  ซอย

              การโทรคมนาคม

                   -  ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 1  แห่ง

                   - โทรศัพท์บ้าน        1  หลังคา

              การศึกษา

                   - โรงเรียนประจำหมู่บ้าน      1  แห่ง

             การศาสนา

                   - สถาบันองค์กรศาสนา        1  แห่ง

              สาธารณสุข

                   - สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน   1  แห่ง

              การไฟฟ้า

                    - มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

            แหล่งน้ำธรรมชาติ   3   สาย

                    - แม่น้ำน้ำปุก

                    - ห้วยก๋าว

                    - ห้วยโป่ง

             

         กลุ่มแกนนำที่แต่งตั้ง (จากประชาชน)

                     กลุ่มกองทุนเงินล้าน

                     กลุ่มฌาปนกิจศพ

                     กลุ่มแม่บ้าน

                     กลุ่มผู้ใช้น้ำประปา

                     กลุ่มข้าวโพด

         สาธารณประโยชน์ในชุมชน

                     สะพานในหมู่บ้าน           จำนวน       1  แห่ง

                     ฝายกั้นน้ำตามลำแม่น้ำ      จำนวน     7  แห่ง

                     ประปาในหมู่บ้าน           จำนวน       2   แห่ง

                     บ่อบาดาล                  จำนวน       10  แห่ง

                     แหล่งน้ำธรรมชาติ          จำนวน       3  แห่ง

                     ไฟกิ่งในหมู่บ้าน             จำนวน       5  แห่ง

                     ตู้โทรศัพท์องค์การ          จำนวน       1  แห่ง

                     ที่อ่านหนังสือพิมพ์          จำนวน       1  แห่ง  

ทุนในหมู่บ้านน้ำปุก  

1. ทุนมนุษย์

1. นายปั๋น    มะโนวงค์            ข้าวจ้ำ               วัฒนธรรม

2. นางขัน    ลาบุตรดี            หมอเมื่อ             วัฒนธรรม

3. นายใจมูล  ละสัจจา          หมอเป่า             สุขภาพ

4. นายวงค์   คำมาปัน          จักรสาน             เศรษฐกิจ/อาชีพ

5. นายเป็ง   ศรีนวล              สร้างบ้าน            เศรษฐกิจ/อาชีพ

6. นางไข่     ละสัจจา           ทำอาหาร           เศรษฐกิจ/อาชีพ

7. นายสม    ลาบุตรดี          เล่นดนตรีพื้นเมือง    วัฒนธรรม

8. นายขันแก้ว   ช่างแต่ง       จ๊อย/ซอ             วัฒนธรรม

9. นายศรีมูล ยอดแก้ว         ช่างไฟฟ้า            เศรษฐกิจ/อาชีพ

10.  นายปั๋น  ไชยมงคล        หมอสู่ขวัญ          วัฒนธรรม

11.  นายนิรันดร์  บุญเทพ      เหล้าเสรี            เศรษฐกิจ/อาชีพ

2.  ทุนสถาบัน   

          ชื่อสถาบัน                 เป้าหมาย                       ด้าน

1. กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน    ช่วยเหลือทางด้านเงินทุน           เศรษฐกิจ

2. กลุ่มแม่บ้าน              ช่วยเหลืองานสังคม                สังคม

3. กลุ่ม อสม.               ช่วยเหลือสาธารณสุข               สาธารณสุข

4. กลุ่มข้าวโพด             ช่วยเหลือด้านการเงิน               เศรษฐกิจ

5. กลุ่มผู้สูงอายุ            สืบทอดภูมิปัญญา                  วัฒนธรรม

6. กลุ่มออมทรัพย์          ทุนทางเศรษฐกิจ                   เศรษฐกิจ

7. ฌาปณกิจ               ช่วยเหลือในการจัดงานศพ          เศรษฐกิจ

8. กลุ่ม ธกส.               ช่วยเหลือด้านการเงิน              เศรษฐกิจ

9. กลุ่มผู้ใช้น้ำประปา        ช่วยเหลือเรื่องน้ำในการเกษตร      เศรษฐกิจ

10. กลุ่มเจ้าหลวง           ช่วยรักษาหมู่บ้าน                  วัฒนธรรม

3. ทุนภูมิปัญญา

           ชื่อภูมิปัญญา           เป้าหมาย                  ด้าน

1. บายศรีสู่ขวัญ             ทำจิตใจเบิกบานอยู่ดีมีสุข    วัฒนธรรม

2. การทำไม้กวาด           ทำให้มีรายได้เสริม          เศรษฐกิจ/อาชีพ

3. หมอเมื่อ                  ถามเรื่องที่อยากรู้           วัฒนธรรม

   4. จ๊อย/ซอ                  สนุกสนาน                  วัฒนธรรม

   5. คาถาเป่ามะเร็ง           หายจากการเจ็บป่วย       สุขภาพ

6. การจักสาน               ทำให้มีรายได้                เศรษฐกิจ/อาชีพ

7. เลี้ยงผี                    อยู่ดีมีสุข                    วัฒนธรรม

8. คาถาเป่าตาแดง          ให้หายตาแดง               สุขภาพ

9. หมอตำแย                ทำคลอด                    สุขภาพ

       10. การทำกระบวยมะพร้าว  ภาชนะในการตักน้ำ          เศรษฐกิจ/อาชีพ

       11. ยาสมุนไพรพื้นเมือง       หายจากการเจ็บป่วย        สุขภาพ

       12. บูชาเทียนสืบชะตา        อยู่ดีมีสุข                   วัฒนธรรม

4. ทุนทรัพยากรธรรมชาติ

ชื่อทรัพยากร                     เป้าหมาย                        ด้าน

1. น้ำตกตาดหมอก          เป็นที่มาของประปาภูเขา          ท่องเที่ยว

2. ถ้ำนางแปลง             เป็นสถานที่โบราณเก่า             ท่องเที่ยว

3. ถ้ำดอกบัว                สถานที่โบราณเก่า                 ท่องเที่ยว

4. ดงกว้าง                 เป็นบริเวณท่องเที่ยวที่กว้าง        สัตว์ป่า

5. น้ำออกรู/น้ำไหลผ่านภูเขา ใช้บริโภค/อุปโภค              สัตว์ป่า

6. ป่าชุมชน                อนุรักษ์ป่า                          สัตว์ป่า

7. แหล่งปลามัน            ใช้เป็นอาหาร                       สัตว์ป่า

8. ห้วยโป่ง                 แหล่งอาหาร                        เศรษฐกิจ

9. ห้วยก๋าว                 แหล่งอาหาร                       เศรษฐกิจ

      10. ถ้ำผาจ้อ                 เป็นสถานที่โบราณเก่า               ท่องเที่ยว

       11. ถ้ำผาดิน                เป็นสถานที่โบราณเก่า               ท่องเที่ยว